ร้อยเอ็ด-ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันอาสาฬหบูชา

ร้อยเอ็ด-ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันอาสาฬหบูชา

ภาพ/ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน/อำนวย ระดาบุตร บก.ข่าว/สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด

       พุทธศาสนิกชนจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ปี 2562

          เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 เวลา06.30 น. ที่ลานสาเกตนคร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ บึงพลาญชัยร้อยเอ็ด นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย นายทวี จงประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พันโท ถนอม วงษ์พิมล ผู้แทนรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดร้อยเอ็ด ข้าราชการตุลาการ อัยการ หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ ตลอดจนประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกันทำบุญตักบาตรเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา โดยมีพระธรรมฐิติญาณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 ธรรมยุต เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว

           อาสาฬหบูชา คือ อาสาฬห (เดือน 8 ทางจันทรคติ) กับ บูชา (การบูชา)เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 8 วัน หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้วได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้งจึงทรงพิจารณา แบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท คือ อุคฆติตัญญู ผู้ที่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สั่งสอน เปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานเมื่อได้ได้รับแสงอาทิตย์ในวันนั้น วิปัจจิตัญญู สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านได้ขยายความให้พิสดารออกไป เปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จะบานในวันรุ่งขึ้น เนยยะ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรมวิเศษเปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ แต่เมื่อได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำแล้ว ก็ย่อมจะโผล่และบานขึ้นในวันต่อ ๆ ไป ปทปรมะ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่องแล้ว ก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำกับเปือกตม รังแต่จะเป็นอาหารเต่าและปล

             ทั้งนี้ แต่เดิมวันนี้ไม่มีพิธีพิเศษ คงเนื่องมาจากวันก่อนเข้าพรรษาเพียงวันเดียว ประชาชนชาวพุทธได้ประกอบการบุญการกุศลเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ต่อมาสังฆมนตรี มีมติให้ชาวพุทธประกอบการบูชาเป็นพิเศษในวันนี้ และเรียกว่า “วันอาสาฬหบูชา” เมื่อรัฐบาลเห็นชอบด้วยจึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ นับแต่ปี พ.ศ. 2504 จนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชาพวกเราชาวพุทธ ต่างก็ประกอบการบูชาเป็นพิเศษตลอดวันนั้น นับตั้งแต่รับศีล ฟังเทศน์ สนทนาธรรม สวดมนต์ เดินเวียนเทียนพระพุทธสถาน เช่น รอบโบสถ์ วิหาร เจดีย์ หรือต้นศรีมหาโพธิ เป็นต้น ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า รักษาศีล ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศน์ และ เวียนเทียนที่วัดในตอนค่ำ

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!