นครสวรรค์-เด็กไทยคว้าแชมป์นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ที่อินโด

นครสวรรค์-เด็กไทยคว้าแชมป์นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ที่อินโด

ภาพ/ข่าว:ชาติชาย เกียรติพิริยะ

        นักเรียนโรงเรียนนครสวรรค์ คว้ารางวัลเหรียญทอง การแข่งขันนวัตกรรมระดับนานาชาติ จากทีมทั่วโลกกว่า 300 ทีม มีครูไทยร่วมรับเชิญเป็นกรรมการจาก 25 ประเทศ นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ

          นายพันศักดิ์ ศรีทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนนครสวรรค์ เปิดเผยว่าทีมนักเรียนชั้น ม.6 และคณะครูจากโรงเรียนนครสวรรค์ เพิ่งจะเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยเมื่อคืนนี้ ในการเดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันนวัตกรรมระดับนานาชาติ จากทีมที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 300 ทีม จากทั่วโลก และมีครูไทยเพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน โดยมีคณะกรรมการจาก 25 ประเทศทั่วโลก สำหรับรางวัลที่ได้รับเป็นรางวัลเหรียญทอง (Gold Award) ในงาน 6th International Young Inventor Award (IYIA 2019) Jakartar Indonesia ทำการแข่งขันที่กรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 9-12 ตุลาคม 2562 ในชื่อโครงงาน Utilization of Bio-Sludge from Wastewater Treatment Plant in the Extraction of Biological Compounds to Improve Soil Quality

          นักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็นนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนนครสวรรค์ ประกอบด้วย นางสาวกฤตศยา นทีมณฑล , นายคณิศร ประทุมานนท์ , นายภูริณัฐ จันทร์เสรีวัฒน์ ,นางสาวศิรภัสสร โพธิ์ทัย โดยมีคณะครูที่ปรึกษาโครงงาน ประกอบด้วย ครูอาภาภรณ์ ปานมี ครูกนกพร ภู่ตระกูล ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนนครสวรรค์ และครูที่ปรึกษาพิเศษคือครูณัฐพล ภู่ตระกูล ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาทองพิทยาคม จ.นครสวรรค์ สพม.42
           การแข่งขันจัดแบ่งเป็น 2 รอบ ในรอบแรกเป็นการส่งโครงงานภาษาอังกฤษไปยัง IYIA ที่กรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย พอได้รับการคัดเลือกจึงไปแข่งขันต่อในรอบที่สองด้วยการนำโครงงานไปนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ที่กรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย
           สำหรับรายละเอียดย่อๆของโครงงานคือ การนำตะกอนชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำเสียมาใช้ประโยชน์ในการทำเป็นสารชีวภาพ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดิน คือ การที่เรานำตะกอนจากการบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครนครสวรรค์มาใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ด้วยการนำตะกอนมาวิเคราะห์หาแร่ธาตุที่จำเป็นโดนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และนำมาผสมกับดินด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำดินที่ผสมตะกอนไปทดลองปลูกพืช และยังสามารถนำมาทำเป็นเม็ดเพื่อใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ ซึ่งส่งผลให้พืชมีความเจริญงอกงามดี โดยในการทำแลปได้รับการสนับสนุนจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และได้รับการสนับสนุนตะกอนจากโรงบำบีดน้ำเสียเทศบาลนครนครสวรรค์

           ซึ่งในการดำเนินการทำโครงงานนี้นั้น นางสาวอาภาภรณ์ ปานมี นางกนกพร ภู่ตระกูล และนายณัฐพล ภู่ตระกูล ให้สัมภาษณ์ว่า ทีแรกมีนักเรียนมาหา มาขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินโครงงาน เพราะที่นครสวรรค์ มีน้ำเสียเยอะมาก และทางเทศบาลก็มีโรงบำบัดน้ำเสีย ส่วนตะกอน น่าจะมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้ จึงประสานงานกับนายพันศักดิ์ ศรีทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนนครสวรรค์ นางธิชาพร ยอดกัณหา รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนนครสวรรค์ และนายสมาน สุขสุ่ม หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ โรงเรียนนครสวรรค์ จากนั้นได้ประสานงานไปที่นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์และโรงบำบัดน้ำเสียเพื่อขอตะกอนน้ำเสีย และประสานไปยังคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อขอใช้ห้องแลปทำการทดลอง เด็กๆได้มีการทดลองหาสารแร่ธาตุจากตะกอน แล้วนำตะกอนมาผสมกับดินในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน แล้วทดลองนำดินที่ผสมตะกอนมาใช้ปลูกพืช และจดบันทึกดูการเจริญเติบโตของพืช จนเห็นว่าได้ผลดีและทราบข่าวว่ามีการแข่งขันที่กรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย จึงทำเรื่องส่งโครงงานไปยัง IYIA และได้รับเชิญให้ไปเข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าว

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!